วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 3

เเบบฝึกหัดทบทวน
 1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ   ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก ได้แก่ คณะราษฎร์ เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศในขณะนั้นและมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข   เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกเรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม  พุทธศักราช 2475 ซึ่งเหตุผลของผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามที่ถือเป็นฉบับแรก คือ คณะราษฎร์ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาล นโยบายสามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า” รัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49
           ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา อยู่ในหมวดที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยามมาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ

2. เเนวนโบายเเห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ   แนวนโยบายแห่งรัฐซึ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2492 นั้น ได้แบ่งออกเป็น 3 หมวดได้แก่ หมวดที่ 3 หมวดที่ 4 และหมวดที่ 5 โดยมีรายละเอียดดังนี้
         หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย 
         มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
          หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
          มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
          หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
          มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
          มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษารัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดา เนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
          มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควรมาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย  
ตอบ   แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญในปีพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 มีความเหมือนกันตรงที่การจัดอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาลโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน

4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย 
ตอบ   มีความแตกต่างกันตรงที่ประเด็นที่ 1 ในรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 จะไม่ค่อยบังคับด้านการศึกษาโดยจะให้เสรีในการเลือกตัดสินใจให้เสรีภาพในการศึกษาไม่บังคับอะไรมากมายนัก ส่วนในประเด็นที่ 2 ในรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517  การศึกษาเริ่มเป็นระบบมากขึ้น มีหน่วยงานของรัฐบาลให้ความช่วยเหลือในการศึกษาทั้งในเรื่องของ ทุนการศึกษา  และมีการบังคับให้ศึกษาตามระบบมีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาที่แน่นอนมีการเข้มงวดในเรื่องการศึกษาโดยทางรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านเข้าเล่าเรียน 

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534   ประเด็นที่ 4  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย
ตอบ  มีความเหมือนกันตรงที่รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่างๆบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐย่อมได้รับการคุ้มครอง

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง  อธิบาย
 ตอบ  รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงเพราะทุกคนจะต้องได้รับสิทธิและเสรีภาพความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เพื่อต้องการให้ทุกคนมีการศึกษาที่เท่าเทียม โดยไม่แบ่งชั้นวรรณะหรือความได้เปรียบเสียเปรียบกัน ซึ่งในการปรับรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของประเทศและตามเศรษฐกิจในยุคนั้นๆ

 7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ  เพื่อต้องการให้บุคคลมีความเสมอภาค มีความเท่าเทียมกันทางด้านการศึกษาพึงได้รับประโยชน์และสิทธิเช่นเดียวกัน เพื่อให้บุคคลเป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยการได้รับความรู้และการส่งเสริมอย่างทั่วถึง เมื่อมีการกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้จะส่งผลให้เกิดความไม่เสมอภาค ความไม่เท่าเทียมและขาดการช่วยเหลือทางด้านการศึกษา

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา หากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม เเละถ้าเปิดโกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้น ท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ   รัฐธรรมนูญฉบับที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม ได้แก่  ฉบับที่ 5-10  (พ.ศ. 2540-2550) และหากเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้น ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่ง เนื่องจากในการจัดการศึกษาจะต้องสอดคล้องกับสังคมหรือบริบทของท้องถิ่นนั้นๆด้วยหากเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น จะทำให้เข้าใจถึงบริบทของท้องถิ่นนั้นๆมากขึ้นเช่นเดียวกัน และยังสามารถทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการศึกษามากขึ้น 

9. เหตุใดการจัดการศึกษา  รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน  ส่งเสริมความเสมอ ภาคทั้งหญิงและชาย  พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว  และความเข็มแข็งของชุมชน  สังเคราะห์ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส  จงอธิบาย
ตอบ  เพราะรัฐต้องการให้เด็กและเยาวชนไม่ว่าจะประเภทใดก็ตามพึงได้รับความเท่าเทียมและทั่วถึงในด้านการศึกษา อีกทั้งพึงต้องการให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้ได้รับความสุข สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเท่าเทียมและปกติสุข สามารถเติบโตด้วยความพร้อมที่เต็มไปด้วยความบริบูรณ์ในด้านต่างๆ ซึ่งการช่วยเหลือที่เท่าเทียมตลอดจนการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจะส่งผลให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้เป็นกำลังที่จะช่วยพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปด้วยความรู้ ความสามารถและคุณธรรม

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  มีผลต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรบ้าง  จงอธิบาย
ตอบ  การจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทำให้ศึกษาของไทยมีระบบ มีความคล่องตัว มีความสามารถในการแข่งขันในระดับต่างๆและในเวทีโลกมากขึ้น อีกทั้งยังลดความเลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาได้มากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมาอีกด้วย ซึ่งผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทำให้เกิดนโยบายเรียนฟรี 15 ปีขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน มีการมอบทุนการศึกษา และการให้การศึกษาแก่ผู้พิการ ทำให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถลดความเลื่อมล้ำในด้านการศึกษาในประเทศได้ในระดับหนึ่ง  เมื่อมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นและมีการปรับปรุงแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพการศึกษาอบรมให้กับเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ  สติปัญญา  คุณธรรมจริยธรรมโดยมีแนวทางในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมเช่นกัน และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สำหรับการศึกษาภาคบังคับ  ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐจะต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ  หรือเรียกชื่อว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติขึ้น”  ซึ่งส่งผลให้เยาวชนมีความรู้ ความสามารถ ได้รับการส่งเสริมที่ทั่วถึง ทำให้เยาวชนเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศชาติและมีความสามารถในการแข่งในเวทีโลกได้มากยิ่งขึ้นและเป็นการยกระดับการศึกษาไทยให้ก้าวหน้ายิ่งไปกว่าเดิม จากที่เห็นได้ชัดจากผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมต่างๆของเด็กไทยที่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมและการร่วมมือจากภาครัฐและทุกภาคส่วน ส่งผลให้ประเทศไทยมีโอกาสในการแข่งขันในเวทีโลกมากยิ่งขึ้น 

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2

คำถามท้ายบทที่ 1 

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร

ตอบ       หากไม่มีกฎหมายบ้านเมืองคงเกิดปัญหาวุ่นวาย มนุษย์ต่างคนต่างจะทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ โดยไม่เกรงกลัวสิ่งใด เช่น เกิดการทะเลาะวิวาท ฆ่ากันตาย เป็นต้น ฉะนั้นมนุษย์เราต้องมีกฎหมายกฎหมายเป็นเครื่องควบคุมบังคับไม่ให้คนกระทำความผิด กระทำสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ เป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยและเป็นระเบียบเรียบร้อย ของคนในสังคม เพื่อดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและความเสมอภาคสำหรับทุกๆคน 
            
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ      การอยู่กันในสังคมจำเป็นต้องมีกฏหมาย ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน ทำให้สังคมมีระเบียบ วินัย และสงบเรียบร้อย หากไม่มีกฎหมาย มนุษย์ซึ่งมักจะชอบทำอะไรตามใจตนเอง ถ้าต่างตนต่างทำตามใจและการกระทำนั้นทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ก็จะเกิดปัญหา ความขัดแย้ง มีการล้างแค้นได้โต้ตอบกันไปโต้ตอบกันมาไม่มีที่สิ้นสุด เพราะไม่มีกฎหมายเข้าไปจัดการให้ความเป็นธรรม ในที่สุดสังคมนั้นประเทศนั้นก็จะล่มสลายไม่สามารถดำรงอยู่ได้

3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้

ตอบ       
ก. ความหมาย 
              ข้อบังคับกฎเกณฑ์ เพื่อไม่ให้มนุษย์ กระทำความผิด ถ้ามีการกระทำความผิด ก็จะมีโทษทางอาญา หรือทางแพ่ง สามารถเอาผู้ที่กระทำความผิด ไปรับโทษ  เพื่อตักเตือน ไม่ให้กระทำความผิดครั้งต่อไปๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ 


ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย 
    ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย ประกอบด้วย 4 ประการ คือ 
              1.เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้
              2.มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับอันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย สำหรับคำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ. 2548เป็นต้น
              3.ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้ แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้ การแจ้งคนเกิดภายใน 15 วัน แจ้งคนตายภายใน 24ชั่วโมง ยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี เข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจำการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี เป็นต้น
              4.มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทาผิดจะต้องได้รับโทษ

ค. ที่มาของกฎหมาย 
     ที่มาของกฎหมายของประเทศไทย สรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้ 
              1.บทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่น กฎหมายประมวลรัษฎากร รัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ซึ่งกฎหมายดังกล่าว ผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย               
              2.จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร แล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น การชกมวยเป็นกีฬา หากชนตามกติกา หากคู่ชกบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต ย่อมไม่ผิดฐานทำร้ายร่างกาย หรือฐานฆ่าคนตาย อีกกรณีหนึ่งแพทย์รักษาคนไข้ ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้ ย่อมถือว่าไม่มีความผิดเพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา ปฏิบัติโดยชอบตามกติกา หรือเกณฑ์ หรือจรรยาบรรณที่กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย              
              3.ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทำร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ               
              4.คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด               
              5.ความเห็นของนักกฏหมาย เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทาให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน

ง. ประเภทของกฎหมาย 
     การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่วๆ ไปดังนี้ 
              

               1. กฎหมายภายใน 
                  1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร 
                        1.1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย 
                        1.1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ 
                  1.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                        1.2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน
สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา 

                        1.2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม 
                  1.3 กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                        1.3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
                        1.3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
                  1.4 กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                         1.4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
                         1.4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
              

               2. กฎหมายภายนอก 
                  2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน 
                  2.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ
                  2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วน
อาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายจงอธิบาย 
ตอบ       
หากไม่มีกฎหมายบ้านเมืองก็จะไม่มีความสงบสุขมีแต่ความวุ่นวายขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและผู้คนจะมีการละเมิดสิทธิของกันและกัน ฉะนั้นเพื่อควบคุมควบความประพฤติสมาชิกในสังคมรวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมจึงจำเป็นต้องใช้กฏหมาย 


5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไรจงอธิบาย 
ตอบ       สภาพบังคับในทางกฎหมาย คือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง  ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ


6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร 
ตอบ        แตกต่างกัน คือ ความรับผิดทางอาญา โทษที่จะลงแก่ตัวผู้กระทำผิดถึงโทษประหารชีวิต  จำคุก กักขัง  ปรับ  ริบทรัพย์สิน ส่วนทางกฎหมายแพ่งนั้นไม่มีโทษ เป็นเพียงถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทน


7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย 
ตอบ       ระบบกฎหมายมี 2 ระบบ 

              1. ระบบ Common Law (ระบบกฎหมายจารีตประเพณี) เป็นระบบที่ได้พัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษตั้งแต่อดีตกาล เป็นระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคือ จะยึดถือตามคำพิพากษาซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งกฎหมาย ซึ่งในมุมมองของนักกฎหมายที่ใช้ระบบนี้ มีความคิดเห็นว่าการยึดตามตัวบทกฎหมายอาจจะทำให้ไม่เป็นธรรม กล่าวคือ ภาษาที่ใช้ร่างกฎหมายสามารถตีความได้หลายนัย การตัดสินคดีในเรื่องเดียวกัน อาจจะวินิจฉัยต่างกันออกไปก็ได้
              2. ระบบ Civil Law (ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร) กล่าวคือ ระบบประมวลกฎหมาย ระบบกฎหมายนี้ได้พัฒนามาจากโรมัน ซึ่งเป็นระบบที่เก่าแก่และใช้กันมาอย่างยาวนาน ระบบนี้จะยึดตามประมวลกฎหมาย ซึ่งกฎหมายจะถูกตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ 

8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้างยกตัวอย่างอธิบาย 
ตอบ        ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 

               1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
                   1.1  ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
                   1.2  ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี 

(Common Law System) เป็นกฎหมาย ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ
               2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
                    2.1 กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
                    2.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้ กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก 
               

               3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน 
                    3.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
                    3.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครอง ความเสมอภาคมิให้เอาเปรียบต่อกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นต่อ

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ       การจัดลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมาย โดยมีหลักในการตีความว่า กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า คือ มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า หรือมีลำดับชั้นสูงกว่ามิได้ ดังนั้นกฎหมายที่มีศักดิ์หรือลำดับชั้นต่ำกว่า จะต้องออกหรือตราออกมาให้มีข้อความสอดคล้องกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า แบ่งได้เป็น 7 ชั้น

               1. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายใดขัดแย้งไม่ได้ โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง สิทธิเสรีภาพของประชาชน
               2. พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น
               3. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ตามบท บัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนหรือเรื่องที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ  ความปลอดภัยของประเทศ แต่ต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็ว
               4. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดรายละเอียดตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้
               5. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีตราขึ้นผ่านคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
               6. ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ เป็นกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เป็นต้น
               7. ประกาศคำสั่ง เป็นกฎหมายเฉพาะกิจ เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศคณะปฎิวัติ  คำสั่งหน่วยงานราชการ เป็นต้น

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่า จะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานั้นท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก 
ตอบ     รัฐบาลกระทำผิด เพราะไม่ฟังการเรียกร้องหรือการชุมนุมของประชาชน เพราะประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการเรียกร้องและประชาชนก็ได้ประกาศแล้วว่าจะชุมนุมกันอย่างสงบแตรัฐบาลยังมีการขัดขวางและทำร้ายประชาชน

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ     กฎหมายการศึกษา คือบทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาขึ้น ที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือ จะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับกฎหมาย เพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตาม ไปสู่การพัฒนาคนและสังคมสู่ความเจริญงอกงาม

12.ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ     กฎหมายมีความสำคัญกับการศึกษาโดยตรง และบุคลากรทางการศึกษาทุกคน เพราะจะช่วยจัดระเบียบ คุ้มครอง พัฒนาคุณภาพชีวิต และรับรู้สิทธิอันพึงมีของตัวเอง ในฐานะประชาชนคนไทยคนหนึ่งบนผืนแผ่นดินประชาธิปไตย ถ้าหากไม่มีกฏหมายการศึกษา  เมื่อไปประกอบวิชาชีพครูแล้วไม่มีความรู้ทางด้านกฏหมายก็จะเกิดผลเสียกับตัวครูเอง ซึ่งความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 1

ประวัติส่วนตัว






ชื่อ : นางสาว ดารารัตน์ เสนาสนะ
ชื่อเล่น : จ๊ะเอ๋
เกิดวันที่ : 24 พฤษภาคม พ.ศ.2540
สัญชาติ : ไทย
เชื้อชาติ : ไทย
ศาสนา : พุทธ
ภูมิลำเนา : 30/9 ถ.สุนอนันต์  ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก   อำเภอปากพนัง  จังหวัดนครศรีธรรมราช
ความสามารถพิเศษ : เล่นเทเบิ้ลเทนนิส
คติประจำใจ : ทุกสิ่งทุกอย่างทีี่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุผลของมัน (Everything happens for a reason.) 
งานอดิเรก : ชอบฟังเพลง ดูหนัง และท่องเที่ยว


การศึกษา
          จบชั้นอนุบาลจากโรงเรียนภูมิสถิตย์วิทยา
          จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนเทศบาลปากพนัง 2
          จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจากโรงเรียนปากพนัง
          ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่คณะครุศาสตร์  สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

          



ทำไมถึงอยากเป็นครู
          โดยส่วนตัวเป็นคนที่ชื่นชอบในวิชาภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เด็กๆ แต่เด็กไทยโดยส่วนใหญ่มีทัศนะคติที่ไม่ดีต่อภาษาอังกฤษ จึงทำให้ดิฉันเกิดความรู้สึกอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กไทยสามารถพัฒนาตนเองจนมีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษมากขึ้น

สิ่งที่อยากทำในอนาคต
          อยากรับราชการเป็นครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนที่มีครูภาษาอังกฤษไม่เพียงพอ

อุดมการณ์ความเป็นครูของตนเอง
          การที่จะเป็นครูที่ดีนั้นต้องเก่งทั้งด้านวิชาการและด้านทักษะในการใช้ชีวิต ครูไม่ใช่เพียงแค่คนที่คอยมอบวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์เท่านั้น แต่ครูเปรียบเสมือนพ่อแม่คนที่สอง คอยอบรมบ่มสอนศิษย์ให้เดินไปในทางที่ดี ต้องรักและเข้าใจถึงความแตกต่างของศิษย์แต่ละคน และที่สำคัญที่สุดคือครูต้องมีความยุติธรรม 

เป้าหมายของตนเอง
          เรียนจบปริญญาโท มีหน้าที่การงานที่ดี สามารถดูแลพ่อและแม่ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ